วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ความหมายโรคเอดส์ (AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes) คือ โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่ายกว่าคนปกติ
A = Acquired หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ได้มีมาแต่กำเนิดI = Immune หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกายD = Deficiency หมายถึง ความเสื่อมลงS = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการ หรืออาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะระบบใดระ
สาเหตุการเกิดโรคเอดส์ - เพศสัมพันธ์ ชาย - หญิง หรือ ชาย - ชาย - การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น - การได้รับเชื้อจากการให้เลือด - การผ่านเชื้อจากมารดาสู่ทารก ระหว่างหรือหลังคลอด - ไม่ทราบสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น
ก ารวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยโรค HIV การตรวจวินิจฉัยหาภูมิต่อเชื้อ HIV สามารถทำได้หลายวิธี การตรวจที่ให้ผลเร็วสามารถตรวจจากเลือด น้ำลาย และปัสสาวะ ก่อนการตรวจเลือดผู้ป่วย ควรได้รับการปรึกษา ถึงผลดีและผลเสียของการตรวจรวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นจากการตรวจเช่น ความรู้สึกกลัว หรือซึมเศร้า ปัญหาทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้น ปัญหาการจ้างงานปัญหาการประกันชีวิต ปัญหาการยอมรับของครอบครัว เป็นต้นแต่ การตรวจเลือดหาภูมิต่อเชื้อ HIV มักจะปิดชื่อของผู้รับการตรวจทำให้ปัญหาต่างลดลง
การตรวจ HIV สามารถทำได้หลายวิธีโดยมีความแม่นยำ และราคาต่างๆกัน
การครวจเลือดที่ให้ผลเร็วโดยใช้วิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) วิธีนี้ให้ผลเร็วมีความไวและมีความแม่นยำในการตรวจมีความแม่นยำ (sensitivity and specificity of) 99.9%.หากให้ผลบวกต้องยืนยันการ วินิจฉัยโดยวิธี Western blot or immunofluorescenceassa การตรวจวิธีนี้มีข้อควรระวัง คือ หลังจากได้รับเชื้อจะมีช่วงหนึ่งที่ตรวจเลือด ยังไม่พบภูมิต่อเชื้อ HIV เราเรียกช่วงนี้ว่าwindow period ถ้าหากคนผู้นั้นมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นใช้เข็มฉีดยาร่วมกันร่วมเพศโดย ที่ไม่ได้ป้องกัน เราต้องรออีก 6 เดือน เพื่อเจาะเลือดอีกครั้ง ยังมีอีกกรณีที่ต้องระวัง คือเมื่อตรวจ ด้วยวิธี ELISA ให้ผลบวกแต่ผลการตรวจยืนยันโดยวิธี Western blot or immunofluorescence assay ให้ผลบวกหนึ่งแบนกรณีนี้อาจจะเกิดจากwindow period, หรือติดเชื้อด้วยเชื้อ hiv อีกชนิดหนึ่ง เช่น HIV-2 รืออาจจะเกิดจากโรคอื่น นอกจากนั้นการฉีดวัค ซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ Influenza vaccine ก็อาจจะ ให้ผลบวกหลอก การตรวจเลือดหาภูมิหากผลเลือดบวกโดยที่ผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อต้องทดสอบ ซ้ำอีกครั้ง
การตรวจปัสสาวะและเยื่อเมือกในปาก มีความแม่นยำและจำเพาะ 99.5 %หากให้ผลบวกต้องตรวจยืนยันโดยวิธี Western blot or immunofluorescence assa การตรวจเลือดด้วยตัวเอง วิธีการหยดเลือดไว้บนกระดาษแล้วส่งเข้าห้องปฏิบัติการ สามารถรายผลทางโทรศัพท์ มีจำหน่ายตามร้านขายยาแต่มีข้อ ที่ต้องระวังคือ ไม่มีการให้คำแนะนำ สำหรับผู้ป่วย ถ้าผลเลือดบวกผู้ป่วยควรจะได้รับคำแนะนำใน การปฏิบัติตัวผู้ป่วย บางคนอาจจะตัดสินใจทำร้ายตัวเองทั้งที่โรคนี้สามารถควบคุมโรค ไม่ให้ลุกลามได้ ถ้าผลเลือดลบควรจะได้รับคำแนะนำ ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV การทดสอบนี้อาจจะให้ผลบวกหลอก ในผู้ป่วยบางราย เพราะไม่ได้มีการคักกรองกลุ่มเสี่ยงเข้า ตรวจ การตรวจหาตัวเชื้อ HIV โดยวิธี HIV RNA (viral load assay) จะตรวจกรณีที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นถูกเข็มฉีดยาจากผู้ป่วยตำ หรือร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อ โดยที่ ไม่ได้ป้องกัน และตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันในเลือด การตรวจนี้จะให้ผลบวกก่อนที่ภูมิ จะขึ้น แต่ก็มีข้อผิดพลาด กรณีที่พบเชื้อปริมาณน้อย การตรวจเลือดวิธีนี้จะให้ ผลบวกก่อนที่ภูมิจะขึ้นเราเรียกการติดเชื้อ ชนิดนี้ว่า Primary HIV infection ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญในการให้ยาต้านไวรัส HIV
แนวทางการรักษาและการรักษา
การรักษา เมื่อ 5 ปีก่อนผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV ส่วนใหญ่จะเสียชีวิต แต่ปัจจุบันได้มีการ พัฒนารักษาไวรัส รวมทั้งมีการใช้ยาร่วมกันทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น กว่าก่อน ดังนั้นผู้ที่ ติดเชื้อ HIV ควรจะปรึกษาแพทย์เสียแต่เนินเพื่อวางแผนการรักษา เชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันโดยการทำลายเซลล์ CD4 เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดการติดเชื้อฉวย โอกาส การรักษา โดยการให้ยาต้านไวรัสเป็นเพียงหยุดหรือทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวลดลงทำให้ โรคไม่รุกลามจนกลายเป็นเอดส์ ข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเพื่อวางแผนการรักษา
เลือกแพทย์และโรงพยาบาลที่รักษา
ปัจจัยข้อหนึ่งที่ทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จคือแพทย์ผู้รักษาและโรงพยาบาลทีมงาน ทางการแพทย์ต้องมีคุณภาพ ต้องเข้าใจปัญหาที่ผู้ป่วยต้องประสบอยู่ทุกวัน ต้องวางแผนการ รักษา ให้ความรู้ การป้องกันตัวเอง จากการติดเชื้อ การป้องกันผู้อื่นมิให้ได้รับเชื้อจากตัวผู้ป่วย
ผู้ที่ติดเชื้อมักจะมีปัญหาร่วมด้วย เช่นปัญหาทางด้านจิตใจ ปัญหาเรื่อง ยาเสพติด ปัญหา สุขภาพจิต และปัญหาสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถ ปรึกษากับทีมงานที่รักษา และต้องไว้ใจ ซึ่งกันและกัน
เข้าใจหลักการรักษา
ผู้ป่วยโรคเอดส์มีปัญหาคือเชื้อ HIV ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสร้างโดย CD4 Cell เมื่อเชื้อมีปริมาณมาก เซลล์ CD4 Cell ก็จะต่ำ ควรเริ่มการรักษาก่อนที่ภูมิจะถูก ทำลาย นอกจากดูจำนวน CD4 Cell แล้วยังต้องดู viral load คือดูปริมาณเชื้อที่อยู่ในกระแส เลือดนั้นเอง viral load มากเชื้อในร่างกายก็จะมากอวัยวะก็ถูกทำลายมากและเร็วและยังเกิดการกลายพันธ์ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ง่าย ดังนั้นเป้าหมายการรักษา จะต้องให้ปริมาณเชื้อ ในร่างกายมีน้อยที่สุด (viral load น้อยที่สุด)
การรักษาจะใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา โปรดจำไว้ว่าหากเกิดผล ข้างเคียง จากยาที่ใช้รักษาอย่าหยุดยาชนิดใดชนิดหนึ่งโดย ลำพังให้ปรึกษาแพทย์เปลี่ยนยา เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อยา
การเลือกใช้ยารักษา
การจะเลือกใช้ยารักษาขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้
- ปริมาณเซลล์ CD4 และปริมาณเชื้อHIV ( viral load )
- ประวัติการรักษาโรคติดเชื้อ HIV
- ปริมาณยาที่ใช้และราคายา
- ผลข้างเคียงของยา
- การออกฤทธิ์ต้านกันของยา
เมื่อไรจะเริ่มรักษา
ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นเหมือนกันว่าจะเริ่มรักษาโรคเมื่อ ผู้ป่วยมีอาการของโรคเอดส์ เซลล์ CD4 ลดลง มีปริมาณเชื้อมาก(viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณี
การรักษาหลังสัมผัสโรคติดเชื้อ HIV ( Post-Exposure Prophylaxis )ผู้ที่ได้รับสัมผัสเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง เช่นการที่เจ้าหน้าที่ถูกเข็มตำ ขณะทำงานโดยที่เข็ม นั้นเปลื้อนเลือดผู้ป่วยHIV การเจาะเลือดหา viral load หรือ antigen หรือ antibody หลังสัมผัสเชื้อHIV จะยังไม่พบ การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV สำหรับผู้ที่ร่วมเพศกับผู้ที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อ HIV หรือไม่ ยังไม่มีรายงาน ว่ามีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อมากแค่ไหน ผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ให้ยา และจะให้ยานานแค่ไหน ผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
Primary Infection หมายถึงภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั้งภูมิต่อเชื้อ HIV เพิ่มจนสามารถตรวจพบได้ ระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยระยะนี้ต้อง รีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำ ให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
ผู้ที่ติดเชื้อ HIV โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ แต่ก็มีคำแนะนำในการรักษาตามตารางข้างล่าง
ระยะของโรค ปริมาณเซลล์CD4+ T-Cell ปริมาณHIV RNA คำแนะนำ มีอาการของ โรคเอดส์(เชื้อราในปาก ไข้เรื้อรัง)เป็นโรคเอดส์
การติดตามการรักษา
ก่อนการรักษาแพทย์จะตรวจจำนวน CD4-T และ viral load (HIV RNA testing) 2 ครั้งเพื่อเป็นค่าไว้สำหรับเปรียบเทียบ
หลังการรักษา 4-8 สัปดาห์แพทย์จะเจาะเลือดอีก
ถ้าได้ผลดีและอาการผู้ป่วยคงที่ก็จะเจาะเลือดทุก 2-4 เดือน
แต่ถ้ามีการลดลงของ CD-T แพทย์ก็จะเจาะเลือดบ่อยขึ้น